@@@...ร่วมให้กำลังใจ เพื่อนๆ สมาชิก โดยการ Comment ภาพที่เขา Post มากันหน่อยก็ดี นะครับ !!
Add a comment.

WHO'S ONLINE / จำนวนผู้เข้าชมหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

@ พุทธสุภาษิต


-"ธรรมภาษิต" เอ่ยไว้ใน..........พุทธจักร
ธัม โม หะ เว รัก.....................ขะติ
ธรรมคุ้มครอง ปกปัก...............รักษา ไว้แฮ
ธัม ระ จา ริง คติ.....................ผู้ประพฤติธรรม.


*"ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง"ธรรมมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม

ฆราวาสธรรม ๔,สัปปุริสธรรม ๗ ธรรมที่เหมาะกับการดำเนินชีวิต


--นำหลักธรรม ประยุกต์ใช้ ในชีวิต

ให้ดวงจิต ผ่องใส ให้เข้มแข็ง

ไม่หวาดหวั่น ปัญหา แม้ร้ายแรง

เพื่อแสดง ต่อรอบข้าง อย่างจริงใจ


--นำมาใช้ ได้หมด ทุกทุกอย่าง

ยกมาบ้าง บางอย่าง เหมาะจะใช้

หนึ่งฆรา วาสธรรมสี่ นี้ยังไง (ฆราวาสธรรม ๔)

ยึดเอาไว้ ขัดเกลาจิต ให้คิดดี


--"สัจจะ"นั้น ตั้งมั่น ในดวงจิต (สัจจะ)

ทะมะคิด ข่มจิตไว้ ใจไม่หนี (ทมะ)

"ขันติ"ทน อดกลั้น ในความดี (ขันติ)

ไม่ให้หนี ตามกิเลส ตามอารมณ์


--ข้อ"จาคะ" เสียสละ เพื่อผู้อื่น (จาคะ)

แต่ไม่ฝืน ที่จะทำ โดยใจข่ม

ให้ผู้อื่น โดยปวดร้าว ใจระบม

นั่นไม่สม กับจาคะ สาระจริง


--สี่ข้อนี้ ยังไม่พอ ที่จะใช้

ให้ถึงใน ความสำเร็จ ในทุกสิ่ง

ทำให้ได้ ทำให้ถูก ทำให้จริง

ไม่ควรทิ้ง มุ่งไป ดังใจปอง


--อีกหลักใช้ สัปปุริส สะธรรมเจ็ด (สัปปุริสธรรม ๗)

เครื่องสำเร็จ หลักคนดี ที่ถูกต้อง
 

ให้ชีวิต จิตถูก ผูกครรลอง

ควรจะท่อง ให้จดจำ แล้วนำไป


--ธัมมัญญุต เป็นผู้ รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)

เกิดอาเพศ เหตุปัญหา มาแก้ไข

รู้จักเหตุ ก็จะแก้ แท้ดังใจ

รู้ผลได้ เรียกอัต ถัญญุตา (อัตถัญญุตา)


--มีเหตุผล รู้จักตน สำคัญสุด

อัตตัญญุต คือข้อนี้ ที่กังขา (อัตตัญญุตา)

กาลัญญุต ผู้รู้จัก กาลเวลา (กาลัญญุตตา)

รู้จักใช้ เวลา อย่าละวาง


--รู้ประมาณ ทุกสิ่ง มัตตัญญุต (มัตตัญญุตา)

รู้จักสุด เพียงพอ เรื่องต่างต่าง

สิ่งใดควร จะถือ สิ่งใดวาง

รู้จักบ้าง ความพอดี นี่ตัวเรา


--ปะริสัญ ญุตา ผู้รู้จัก (ปริสัญญุตา)

สังคมรัก คิด ทำ พูด ไม่ขลาดเขลา

รู้วางตัว กับผู้อื่น รอบตัวเรา

รู้จักเข้า สังคม อย่าลนลาน

--คนจะดี จะชั่ว อยู่ที่มิตร

ชวนทำผิด มิตรชั่ว อย่าสงสาร

ปุคคะลัญ ญุตานี้ คือข้อคาน (ปุคคลัญญุตา)

ให้คิดอ่าน เลือกคบคน ไม่จนใจ


--"สัจจธรรม"คือคำสอน ของพระพุทธ

ได้พิสูจน์ ทำได้จริง อย่าสงสัย

กาลข้างหน้า ไม่ว่า ทำอะไร

นำไปใช้ จะสำเร็จ สมดังจินต์
 
 
 
 
เขียนโดย : Omsin Vitoonpong...................๑๘.๐๓.๒๕๕๔
(ขอบคุณภาพประกอบจาก internet)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาอย่า copy ทุกชิ้นงานมีลิขสิทธิ์

คลังรูปภาพ

ตัวละครในวรรณคดี

ตัวละครในวรรณคดี
คลิกๆ ค้นหาได้นะคะ

อาหารไทย

อาหารไทย
รูปภาพอาหารไทยๆ มีให้เลือกที่หลากหลาย คลิกๆ เข้าดูเลยนะคะ

วันใสๆวัยร่าเริง

วันใสๆวัยร่าเริง
ความสดใสและความอ่อนไหวในของอารมณ์