@@@...ร่วมให้กำลังใจ เพื่อนๆ สมาชิก โดยการ Comment ภาพที่เขา Post มากันหน่อยก็ดี นะครับ !!
Add a comment.

WHO'S ONLINE / จำนวนผู้เข้าชมหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

@ บัวกี่เหล่า แล้วตัวเรา บัวเหล่าไหน


*บัวกี่เหล่า แล้วตัวเรา บัวเหล่าไหน*

พระไตรฯ เห็น บัวสามเหล่า เปรียบเอาไว้

เมื่อทรงได้ ตรัสรู้ มองผู้สอน

แบ่งสามกลุ่ม กิเลสรุม อินทรีย์รอน

ใช้บัวย้อน เปรียบสามเหล่า เข้าถึงธรรม


สังคายนา ว่าตามนัย อรรถกถ

รวมธรรมมา บุคคลสี่ ที่มาย้ำ

ปุคคลวรรค พระไตรฯ นี้ มีข้อธรรม

เพื่อใช้นำ มาเทียบ เปรียบกับคน


ไม่ได้ค้าน กับคำสอน มีก่อนเ่ก่า

หรือว่าเขลา เอามามั่ว ชั่วเป็นผล

ว่าตามนัย อรรถกถา ใช่พาวน

แต่มากล้น เจตนา พาสิ่งดี


"อุคฆฏิตัญญู " ผู้ฉลาด

ผู้สามารถ รู้เข้าใจ ในธรรมนี้

เพียงฟังธรรม สัมมาทิฏฐิมี

ดังบัวที่ พ้นน้ำ งามเบ่งบาน


"วิปจิตัญญู อบรมบ้าง

คิดไปพลาง ตอนฟังธรรม แล้วย้ำขาน

ฝึกฝนเพิ่ม รู้เข้าใจ ไม่ช้านาน

รุ่งขี้นบาน บัวปริ่มน้ำ ตามเข้าใจ


เป็นสัมมาทิฏฐิ ดำริเห็น

เหมือนดังเช่น "เนยยะ" ดำริไว้

มากศรัทธา ปัญญาน้อย ถอยกว่าใคร

ฟังเมื่อไร พิจารณา พานึกความ


ไม่ย่อท้อ อบรมเพิ่ม เติมธรรมนั้น

ความขยัน หมั่นเพียร ไม่เปลี่ยนข้าม

จนวันหนึ่ง บัวใต้น้ำ บานงดงาม

คงรู้ตาม ถึงนานหน่อย ค่อยๆไป


เหล่าสุดท้าย ใต้โคลนตม จมตลอด

ไม่มีรอด โผล่ขี้นมา เวลาไหน

มีมิจฉาทิฏฐิ อยู่ในใจ

เป็นพวกไร้ ความเพียร เอียนศรัทธา


เรียก"ปทปรมะ" สาระนี้

ฟังเต็มที่ อย่างไร ก็ไร้ค่า

ไม่เข้าใจ ไม่รับรู้ ดูธรรมมา

เรื่องปัญญา เรื่องสติ ไม่มีเลย


จะเป็นบัว กี่เหล่า เอาสิ่งไหน

ถึงอย่างไร คือพระธรรม นำมาเผย

ทางสายกลาง วางไว้ ให้เปรียบเปรย

บัวที่เอ่ย หาใช่สุด วิมุติธรรม

บัวสี่เหล่า (ตามนัยอรรถกถา)

ตาม นัยอรรถกถา ได้อธิบายบุคคล 4 ในปุคคลวรรค พระไตรปิฏก ปนกับอุปมาเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว 3 เหล่าใน มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [6] โดยลงความเห็นว่าบุคคล 4 ที่พระพุทธองค์ตรัสในปุคคลวรรค เปรียบกับดอกบัว 3 เหล่า (โดยเพิ่มบัวเหล่าที่ 4 เข้าไปในบุคคล 4 ในปุคคลวรรค) ดังนี้


บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิส
ดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.


1. ( อุคคฏิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
2. ( วิปจิตัญญู ) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
3. ( เนยยะ ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่ม อยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
4. ( ปทปรมะ ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

เขียนโดย : Omsin Vitoonphong...............//๐๙.๐๕.๒๕๕๔
(ขอบพระคุณเจ้าของภาพประกอบครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาอย่า copy ทุกชิ้นงานมีลิขสิทธิ์

คลังรูปภาพ

ตัวละครในวรรณคดี

ตัวละครในวรรณคดี
คลิกๆ ค้นหาได้นะคะ

อาหารไทย

อาหารไทย
รูปภาพอาหารไทยๆ มีให้เลือกที่หลากหลาย คลิกๆ เข้าดูเลยนะคะ

วันใสๆวัยร่าเริง

วันใสๆวัยร่าเริง
ความสดใสและความอ่อนไหวในของอารมณ์